09 กุมภาพันธ์ 2555

ถ้ำจอมพล

ถ้ำจอมพล ตั้งอยู่ที่ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง ในบริเวณสวนรุกชาติจอมพล ติดกับมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ห่างจากตัวเมืองราชบุรีประมาณ 30 กิโลเมตร  ถ้ำจอมพล เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี  ในอดีตมีพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงประพาสและทอดพระเนตรถ้ำจอมพลนี้เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙  และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร
ภาพถ่าย ถ้ำจอมพล







นำเที่ยวถ้ำจอมพล
ถ้ำจอมพลมีความกว้าง 30 เมตรยาว 240 เมตร สูง 25 เมตร  ในปัจจุบันถ้ำอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองจอมบึง มีการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมถ้ำจอมพล ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท  เวลาเข้าชมถ้ำจะต้องขึ้นบันไดไปสู่ปากถ้ำ  ตรงปากถ้ำจะมีพระอักษร จ.ป.ร. เป็นอักษรพระปรมาภิไธย ของรัชกาลที่ ๕ โดยย่อ แลเลข ๑๑๔ หมายปีที่เสด็จประพาสและทรงพระอักษร พระราชทานนามถ้ำว่า “ถ้ำจอมพล”โปรดเกล้าให้ช่างสลักศิลาตามอักษร  แล้วทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำนั้น   ที่ปากทางเข้าจะมีลมเย็นออกมาจากช่องทางเข้าถ้ำปะทะตัวเรา  พร้อมกับกลิ่นมูลค้างคาว เมื่อเข้าไปแล้วก็จะปรับสภาพชินไปกับกลิ่นเอง จากปากถ้ำจะมีทางลงก่อสร้างด้วยไม้ค่อนข้างลาดชันลึกลับดีแท้  ภายในอากาศไม่ร้อนอบอ้าว เดินเข้าไปจะเห็นหินงอกหินย้อยแต่ค่อนข้างมืดนิดต้องอาศัยช่างสังเกตุหน่อย  เมื่อถึงจุดที่ได้ชื่อว่า “บรมอาสน์” เป็นบริเวณใกล้เคียง  กับพระพุทธไสยาสน์มีหินย้อยเหมือนรูปกระถางคุณจะเห็นภาพสุดประทับใจกับแสงที่ส่องมาจากเพดานถ้ำลงมายังพระพุทธรูป น่าจะเป็นภาพที่ชินตาในสื่อต่างๆ แต่ไม่เท่ามาสัมผัสด้วยตัวเอง   หลวงตาที่เฝ้าถ้ำ แนะนำว่า ” แสงจะส่องลงมาตรงพระพุทธรูปพอดีอยู่ในช่วงเวลา 13.15 น.ของทุกวัน (แต่บางข้อมูลก็บอกว่า ช่วง 14.00-14.30 น.) และจะสวยมากในช่วงเดือน เมษายนและเดือนสิงหาคมของทุกปี เมื่อมาถึงที่แล้วก็กราบไหว้ขอพรก่อนจากลา  ออกมาจากถ้ำรู้สึกเหนื่อยเพลียแนะนำนั่งชมสวนพฤษศาสตร์ให้หายเหนื่อยก่อนกลับ
ข้อมูลท่องเที่ยว
ที่ตั้ง : ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ติดกับมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
GPS : N13.625029661039951 , E99.58698749542236
เวลาเปิดบริการ : 9.00 – 16.30 . น. (แนะนำไปช่วงบ่าย จะเห็นแสงจากช่องอากาศสวยงาม)
ค่าธรรมเนียม : ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาท
การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวเมืองราชบุรี ประมาณ 30 กม. บนเส้นทางหลวง 3087  เส้นจอมบึง-ราชบุรี สามารถเดินทางโดยรถโดยสาร
ร้านอาหาร : ถ้ำจอมพลอยู่ในตัว อ.จอมบึง ดังนั้นจึงมีร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ปั้มน้ำมัน สะดวกสบาย
อุปกรณ์การเดินทาง : สวมใส่เสื้อผ้าที่คล่องตัว ระบายเหงื่อได้ดี ไม่สวมส้นสูง ไฟฉาย กล้อง+ขาตั้งกล้อง น้ำดื่ม
คำแนะนำ :  แสงจากช่องอากาศด้านบนของถ้ำจะส่องลงมาสวยงามตอนช่วงเวลา 13.15 น. ของทุกวัน(บางข้อมูล 14.00-14.30 น.) ดังนั้นไม่เหมาะที่จะเข้าไปในช่วงเช้า
คำเตือน : จอดรถระวังลิงลื้อสิ่งของ ควรเก็บอุปกรณ์ให้มิดชิด

เรื่องเล่าถ้ำจอมพล
ถ้ำจอมพล ชื่อเดิมว่า “ ถ้ำมุจลินท์ ”
สุรินทร์ เหลือลมัย และ อัมพร อาศน์สุวรรณ ( มีนาคม ๒๕๔๗ ) ได้เล่าว่า “ การที่ชุมชนชาวจอมบึง ได้เรียกถ้ำมุจลินท์ก่อนที่จะเรียกถ้ำจอมพล  อันไปเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของพุทธประวัติ  เรื่องพญานาค และสระน้ำ ชุมชนเข้าใจว่าเดิมนั้น  มีสระน้ำมีพญานาคใต้บาดาล จึงตั้งชื่อว่า ถ้ำมุจลินทนะ  ์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ให้ความหมายว่าชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์   ขอบสระประกอบด้วยต้นจิก
พระมหากษัตริย์กับถ้ำจอมพล
    ถ้ำจอมพลเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดราชบุรีในอดีตมีพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงประพาสและ  ทอดพระเนตรถ้ำจอมพลนี้เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙  และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมารทรงเสด็จประพาสหนังสือสมุดราชบุรี พ . ศ . ๒๕๖๘   ได้บันทึกข้อมูล เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสถ้ำเขากลางเมือง
ณ ตำบลที่ตั้งกิ่งอำเภอจอมบึง ไว้ ดังนี้
“ ระยะทางห่างประมาณ ๘๐๐ เส้น มีบึงใหญ่บึงหนึ่งีนามว่าจอมบึง … ณ ริมขอบบึงนี้มีเขาลูก๑ สูง ๑๘๕ เมตร  เดิมเรียกกันว่า เขากลางเมือง ครั้นต่อมาเมื่อ ร . ศ . ๑๑๔ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่๕พระพุทธเจ้าหลวง  พร้อมด้วยสมเด็จพระพันปีหลวง ได้เสด็จประพาศถ้ำที่เขานี้ เป็นที่ทรงโปรดปรานจึงได้พระราชทานนามถ้ำ แห่งใหม่ว่า “ ถ้ำจอมพล…”
( พระยาคฑาธรบดี จางวางโท . ๒๔๖๘ หน้า ๑๕๖ – ๑๕๗ )

อ.อัมพร อาศน์สุวรรณ ผู้เล่าเรื่องถ้ำจอมพลในอดีต
ขณะชี้ชื่อถ้ำจอมพล ประกอบการเล่าเรื่อง
จากหลักฐานจึงเป็นที่ชัดเจนว่าชื่อ “ถ้ำจอมพล” นั้น เป็นชื่อพระราชทานจากหลักฐานในหนังสือราชกิจจานุเบกษา กรุงเทพมหานครในนามมหาราชวัง ร.ศ. ๑๑๔ พอสรุป ได้ดังนี้ วันที่ ๒๐ ธันวาคม เวลาเช้า เสด็จ พระราชดำเนินที่พักสงฆ์ มี พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  เป็นต้น ซึ่งตามเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยที่พักสงฆ์ไปตามทางหลวงถึง แล้วทรงม้าพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินเชิงเขากลางเมือง  หยุดประทับเสวยเช้าที่เชิงเขาทางแต่ค่ายหลวงถึงเชิงเขา ๘๔ เส้น  เสวยแล้วทรงพระราชดำเนินขึ้นประพาสบนเขา  แลทรงพระราชดำเนินลงประพาส ในถ้ำเขากลางเมืองนั้น   แล้วประทับที่ปากถ้ำ โดยทรงพระราชดำริที่จะให้มีสิ่งสำคัญ  เป็นเครื่องหมายที่ระลึกถึงการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ไว้สืบไปสิ้นกาลนาน   จึงได้ทรงพระอักษรไว้ที่ปากถ้ำ คือ จ.ป.ร. เป็นอักษรพระปรมาภิไธย   โดยย่อ แลเลข ๑๑๔ หมายปีที่เสด็จประพาสและทรงพระอักษร   พระราชทานนามถ้ำว่า “ถ้ำจอมพล”โปรดเกล้าให้ช่างสลักศิลาตามอักษร   แล้วทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำนั้น (สุรินทร์ เหลือลมัย ๒๕๔๒, หน้า ๒๔.)
พระบรมนามาภิไธย จ.ป.ร. ๑๑๔
สลักที่หินปากถ้ำจอมพล
     ภาพพระองค์ทรงฉายพระรูปทรงประทับบนแคร่ที่ปากถ้ำจอมพล และภาพพระองค์ทรงประทับเสวยพระกระยาหารเช้าที่เชิงเขากลางเมืองพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ สมเด็จเจ้ากรมพระยาภานุ  พันธุวงศ์วรเดช สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมขุนศรีธรรมราชดำรงฤทธิ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์และ ข้าราชบริพารตามเสด็จ
ระหว่างเสวยพระกระยาหารเช้าร่วมกับผู้ตามเสด็จ๒๐ ธันวาคม ร . ศ . ๑๔๔ ( พ . ศ . ๒๔๓๘ )
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงฉายพระรูปที่ปากถ้ำจอมพลร่วมกับผู้ตามเสด็จ
เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๔ ( พ.ศ. ๒๔๓๘ )
 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จทอดพระเนตรถ้ำจอมพล เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ . ศ . ๒๔๕๗ ในคราวที่ทรงนำพลเสือป่าทำการฝึกหัดซ้อมรบ ในหนังสือตำนานจอมบึงที่ระลึกพิธีเปิดที่ว่าการอำเภอจอมบึง ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๒ มีใจความว่า “ วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๗ เสด็จจากที่ประทับพักแรมด่านทับตะโก ผ่านห้วยท่าช้าง หนองแฟน แล้วทรงเก้าอี้หามจนถึงจอมบึง เมื่อเวลา ๕โมง ๒ o พระองค์ได้เสด็จขึ้นประพาสถ้ำจอมพล …” ( สุรินทร์ เหลือลมัย ๒๕๔๒ , หน้า ๓๑ )
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงเสด็จประพาสถ้ำจอมพล
วันที่ ๑ มิถุนายน พ . ศ . ๒๔๙๙ อัมพร อาศน์สุวรรณ ( ตุลาคม ๒๕๔๗ ) ได้ให้สัมภาษณ์กล่าวไว้ ดังนี้
” ครั้งนี้ผมทำงานเป็นหัวหน้าสวนรุกขชาติแล้วได้มีส่วนเป็นคณะกรรมการในการ ต้อนรับเสด็จได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เสด็จประพาส  พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และมีพระราชโอรส ราชธิดา ตามเสด็จด้วย ครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลิขิตจารึก พระปรมาภิไธยย่อ ภ ป ร มิ . ย . ๙๙ ไว้ที่หินหน้า ถ้ำจอมพล ด้วยพระองค์เองแล้วพระองค์พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ สมเด็จพระราชชนนี ฯ และทั้งราชโอรส ราชธิดา ทรงพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรภายในถ้ำจอมพล และทรงประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ บริเวณห้องโถงขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นในถ้ำคือบริเวณหน้าหินย้อย ชื่อ ผาวิจิตร มีการจัดบริเวณพื้นที่นี้ไว้อย่างสวยงาม  เพื่อเป็นที่ประทับสำหรับการ รับเสด็จครั้งนี้โดยเฉพาะการใช้แสงไฟฟ้าประดับหินย้อยเป็นครั้งแรก “
ทรงลิขิตพระปรมาภิไธยย่อ ภ ป ร  มิ.ย. ๙๙ไว้ที่หินหน้าปากถ้ำจอมพล
หลังจากเสด็จประพาสภายในถ้ำแล้ว ๓ พระองค์  ทรงปลูกต้นสัก กัลปพฤกษ์ และนนทรี  ไว้เป็นที่ระลึกบริเวณหน้าถ้ำด้วย ก่อนเสด็จกลับ   วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ . ศ . ๒๕๒๐ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จประพาสถ้ำจอมพล และเสวยพระกระยาหารกลางวัน ที่สวนรุกขชาติ ถ้ำจอมพลเมื่อคราวเสด็จวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชจอมบึง และพระองค์ทรงลงพระนามาภิไธย  ” วชิราลงกรณ์ ๒๑ กค ๒ o ” ไว้ที่ก้อนหินใหญ่ปากทางเข้าถ้ำด้วยเช่นกัน
วชิราลงกรณ์ ๒๑ . . o ที่ก้อนหินปากทางเข้าถ้ำ
ข้าราชการกิ่งอำเภอจอมบึงถ่ายภาพกับพระพุทธรูป
ปางห้ามญาติในถ้ำก่อนพ
. ศ . ๒๔๙๕
พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำจอมพล ก่อนพุทธศักราช ๒๔๙๕ ชาวจอมบึงได้ริเริ่ม การจัดประเพณีสงกรานต์ ณ ถ้ำ จอมพลในสมัยนั้น ถ้ำจอมพลยังไม่มีพระประดิษฐาน ในถ้ำ เพื่อการสรงน้ำพระตามประเพณี ชาวบ้านชุมชนชาวจอมบึง จึงขอนิมนต์พระพุทธรูป ปางประทานพรสมัยสุโขทัยจากวัดเขาเหลือ อ . เมือง จ . ราชบุรี มาประดิษฐานในถ้ำ จากคำสัมภาษณ์ของอัมพร อาศน์สุวรรณและสุรินทร์ เหลือลมัย ( มีนาคม ๒๕๔๗ ) กล่าวว่า ” ชาวบ้านชุมชนจอมบึงมีความสัมพันธ์ กับชาวบ้านในชุมชนวัดเขาเหลือและเจ้าอาวาสวัดเขาเหลือ ซึ่งชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อคง หรือขรัวเหลือ โดยชาวบ้านของชุมชนจอมบึงจะนำหน่อไม้ดอง หน่อไม้รวก พุทราแผ่น ฯลฯ ไปขายให้กับชุมชนบริเวณวัดเขาเหลือ นอกจากนี้เมื่อชาวจอมบึงมีธุระในตัวเมืองจังหวัดราชบุรีจะ ขอพักค้างคืนที่วัดเขาเหลือ และลูกหลานของชาวจอมบึงที่เรียนในเมืองก็จะพักอาศัยที่วัดเขาเหลือ ซึ่งการเดินทางในสมัยนั้นใช้เกวียนเป็นยานพาหนะ จึงต้องอาศัยการพักค้างแรมในวัดนี้ ดังนั้นชาวบ้าน จึงได้ขอนิมนต์พระพุทธรูปปางประทานพร ขนาดเคียงบ่า จากวัดเขาเหลือ มาประดิษฐานที่ถ้ำจอมพล เพื่อใช้สรงน้ำพระในประเพณีสงกรานต์ “พระพุทธรูปปางประทานพรนี้ ประดิษฐานในถ้ำจอมพลไม่นาน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้อันเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ ไปไว้ที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง ราชบุรี ในสมัยหลวงพ่อพระธรรมเสนานี เพราะเห็นว่าประตูทางเข้าถ้ำไม่มีประตูปิดปากถ้ำ เมื่อใดที่ประตูถ้ำแข็งแรงและมีการบูรณะถ้ำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ของอำเภอจอมบึง แล้วจึงจะอัญเชิญกลับภายหลังในสมัยนั้นชาวจอมบึงยังจัดประเพณี สงกรานต์ที่ถ้ำจอมพลทุกปี และเจ้าอาวาสวัดจอมบึง ขณะนั้น คือ ท่านพระครูวาปีวรคูณ ในสมัยนั้น ชาวจอมบึงยังจัดประเพณีสงกรานต์
ที่ถ้ำจอมพล ทุกปี และเจ้าอาวาสวัดจอมบึงขณะนั้น คือ ท่าน พระครูวาปีวรคูณ ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อคูณ ท่านเห็นความสำคัญหลักการที่ในถ้ำต้องมี พระประดิษฐาน และด้วยชาวบ้านยังร่วมกัน จัดประเพณีสงกรานต์ที่ถ้ำทุกปี จึงต้องมีพระพุทธสรงน้ำพระ ตามประเพณี ดังนั้นพุทธศักราช ๒๔๙๕ หลวงพ่อคูณซึ่งขณะนั้นท่านเป็น เจ้าอาวาสของวัดจอมบึง รูปที่ ๒ และเป็นเจ้าคณะ อำเภอในเวลา นั้นด้วย จึงดำเนินการจัดสร้าง พระพุทธไสยาสน์องค์ขนาดกลางขึ้นประดิษฐานไว้ชิดกับผนังถ้ำใต้ปล่องอากาศถ้ำ จากคำสัมภาษณ์ ของ สุรินทร
์ เหลือลมัย ( มีนาคม ๒๕๔๗ ) ท่านกล่าวไว้ มีความว่า “การสร้างพระพุทธไสยาสน์นั้น ได้ช่างจากตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม เป็นผู้สร้าง โดยมีหลวงพ่อคูณเป็นผู้ดำเนินการสร้าง และควบคุมพระลูกวัดจอมบึงช่วยขนทราย ขนหิน น้ำที่ใช้ในการก่อสร้างแบกหามปีนป่ายเข้าถ้าซึ่งลำบากมาก พระพุทธไสยาสน์เริ่มสร้างในปี พ . ศ . ๒๔๙๕ ระยะสร้างเสร็จอยู่ในปี พ . ศ . เดียวกัน คือ พ . ศ . ๒๔๙๕ ” และหลังจากนั้นหลวงพ่อคูณ เจ้าอาวาสวัดจอมบึงได้ดำเนินการจัดงานประจำปีีปิดทองพระพุทธไสยาสน์ถ้ำจอมพลในหน้าแล้งทุกปีจัดงานประมาณ ๓ วันงานนี้ นับว่าเป็นงานประเพณีทุกปีของชาวชุมชนจอมบึง  นอกจากการปิดทองพระพุทธไสยาสน์ยังมีงานมหรสพอย่างหลากหลาย  และมีผู้คนที่เลื่อมใสพระพุทธไสยาสน์ เข้าร่วมปิดทองและเข้าชมงาน   อย่างมากมาย พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานในถ้ำจอมพลมีความงดงาม เป็นที่รวมใจ  ในความศรัทธาเพื่อสักการบูชาของชาวจอมบึงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และนักท่องเที่ยวได้เข้าไปในถ้ำเพื่อกราบ ไหว้ชื่นชมพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำ  อย่างต่อเนื่องเสมอมา
การเล่นเพลงพวงมาลัยในถ้ำจอมพล
ประมาณปี พ . ศ . ๒๔๙๕ ชาวชุมชนจอมบึงได้ร่วมกันจัดประเพณีสงกรานต์ที่ถ้ำ จอมพลมีการสรงน้ำพระพุทธ พระสงฆ์ ชาวชุมชนจอมบึงตามประเพณีและยังมีการเล่นเพลงพวงมาลัยใน ถ้ำจอมพล การเข้าไปเล่นเพลงพวงมาลัยในถ้ำจอมพลสมัยนั้น หนุ่มสาวสนุกสนานกันมากเพราะในถ้ำนั้นมืดและยังมีซอกซอยของถ้ำหินต่าง ๆ ดังนั้นการร้องรำเพลงพวงมาลัยนอกจากจะหยอกล้อกันด้วยคารมในเพลงแล้ว ยังเป็นโอกาสของชายหนุ่มที่เกี้ยวสาวแอบหยอกล้อ ถูกเนื้อต้องตัวกันบ้างแต่ยังคงอยู่ในความสุภาพของชายหนุ่มในสมัยนั้นไม่มีเกินเลยอะไรกันมากนอกจากเล่นกันสนุกสนานตาม ประสาหนุ่มสาว (อัมพร อาสน์สุวรรณ มีนาคม ๒๕๔๗)
ความเชื่อเกี่ยวกับถ้ำจอมพล
ความเชื่อที่มีการเล่าเรื่องถ้ำจอมพลมีเนื้อหาของคำสัมภาษณ์ (บำรุง อาศน์สุวรรณ ตุลาคม ๒๕๔๗ ) ว่ามีการเล่าเรื่องที่สืบทอดกันมา” เรื่องสมบัติพญานาค มีอยู่ในถ้ำจอมพลจริง คืนหนึ่งแม่ผมฝันว่า มีสมบัติของพญานาคอยู่ในถ้ำ จึงเข้าถ้ำค้นหาและได้พบพลอย ๓ เม็ด พระทองคำ และแท่งทองคำมากมายในหม้อตาล แม่ผมได้นำมาเพียงครึ่งหนึ่งมาไว้ที่บ้าน ต่อมาเข้าใจว่ามีลมพัดหายไปและแม่แกยังคิดระแวงว่าพ่อมาหยิบไปส่วนที่เหลือในถ้ำครึ่งหนึ่งก็หายไปด้วย ” ความเชื่ออีกเรื่องหนึ่ง คือ ลิงที่อาศัยอยู่บริเวณถ้ำจอมพล ในอดีตลิงบริเวณถ้ำจอมพลนี้ปราดเปรียวมาก ไม่เข้าหาคนเหมือนเช่น ปัจจุบัน ต่อมามีการสร้างพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำ หลวงพ่อคูณสร้างศาลาที่พักไว้ให้พระลูกวัดได้ฉันอาหาร ครั้งนี้ได้ให้อาหารลิงด้วย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เห็นลิงในปัจจุบันมักเดินเข้าหาคนเพราะอยากได้อาหาร และตั้งแต่ครั้งสร้าง พระพุทธไสยาสน์หลวงพ่อคูณได้ประกาศให้็้ชุมชนชาวจอมบึงอย่าทำร้ายลิงโดยกล่าวว่า ” อย่าฆ่าลิงที่ถ้ำจอมพล ถ้าผู้ใดฆ่าลิงขอแช่งไว้ว่า ผู้นั้นจะมีอันเป็นไป ” สาเหตุความเชื่อนี้ลิงจึงขยายพันธุ์มากขึ้นทุกปี ด้วยความระมัดระวัง และให้ความเมตตากับลิง ของคนในชุมชน และชาวท่องเที่ยวที่เข้ามาชมถ้ำจอมพล
ความเชื่อเรื่องการดื่มน้ำใสในแอ่งน้ำ
“ ประสิทธเทวา ” ที่อยู่บริเวณถ้ำมัสยาสถิต เป็นแอ่งหินที่เกิดจากธรรมชาติ  โดยรองรับ ส่วนของน้ำที่ไหลจากหินย้อยและไหลลงมาตลอดเวลา จึงมีจำนวนน้ำอยู่ในแอ่งหินมาก พอสมควร ผู้ที่มาเที่ยวถ้ำจอมพลในอดีต จะนำขวดหรือแก้วน้ำมาตักน้ำกลับไปไว้ใช้ดื่มกิน เพื่อเป็นสิริมงคล ( อัมพร อาสน์สุวรรณ ตุลาคม 2547 ) ปัจจุบันแอ่งหินบริเวณมัสยาสถิต
มีน้ำอยู่ติดพื้นแอ่งหิน มีน้ำจำนวนน้อย ดังนั้นเรื่องการนำน้ำไปดื่มกินเพื่อเป็นสิริมงคลจึงไม่มีแล้ว
ความงดงามตามธรรมชาติภายในถ้ำจอมพล   ถ้ำจอมพลมีความกว้าง ๓๐ เมตรยาว ๒๔๐ เมตร สูง ๒๕ เมตร เวลาเข้าชมถ้ำจะต้องขึ้นบันไดไปสู่ปากถ้ำ จากคำสัมภาษณ์  อัมพร อาศน์สุวรรณ ( ตุลาคม ๒๕๔๒ )ซึ่งท่านมีความผูกพันธ์กับถ้ำจอมพลตั้งแต่เยาว์วัย จนท่านเข้ารับราชการกับกรมป่าไม้ เป็นหัวหน้าสวนรุกขชาติถ้ำจอมพลตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ ถึงพุทธศักราช ๒๕๒๙ กล่าวไว้ดังนี้” ในอดีตถ้ำนี้เป็นแหล่งที่ชาวบ้านมาหามูลค้างคาวไปขายซึ่งปากถ้ำขณะนั้นไม่มีอะไรปิด เมื่อถึงฤดูฝนจะเห็นน้ำฝนไหลผ่านเข้าปากถ้ำ ในถ้ำจึงมีน้ำท่วมเจิ่งนองตามทางเดิน ที่เข้าถ้ำ บางส่วนก็จะเป็นหนองน้ำ เป็นระยะ ๆ และมีโขดหินให้นั่งพัก ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่กล้าเข้าถ้ำ ที่เข้ามา คือ ผู้ที่จะนำมูลค้างคาวไปขาย ซึ่งมีความเข้าใจเรื่องการเข้าถ้ำอย่างดี ชาวบ้านอื่น ๆจะกลัวสัตว์ร้ายที่อยู่ในถ้ำ  สมัยนั้นจะมีงูเหลือม และเสือ เรื่องเสือนี้ มีชาวบ้านเคยจับเสือดาวในถ้ำนี้ได้โดยไม่ตั้งใจจะจับเสือดาว เข้าใจว่าไก่ที่ตายอยู่บริเวณหน้าถ้ำนั้น เป็นอีเห็นมากัดไก่ตาย จึงทำกับดักและก็เป็นเสือดาวขนาดตัวยาว ๖ ศอก มาติดกับดักนี้ ” เมื่อเริ่มเข้ามาในถ้ำส่วนใน จะเห็นธรรมชาติของหินงอก หินย้อยและแผ่นหินน้ำไหล ท่านได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
( อัมพร อาศน์สุวรรณ ตุลาคม ๒๕๔๗ ) ” แต่เดิมมีน้ำไหลจากบนเขาลงมาตามรากของต้นไม้ใหญ่บนเขา ซึ่งมีต้นไม้อยู่หนาทึบ น้ำได้ไหลผ่านหินงอก หินย้อย มีเกร็ดฉายแสงระยิบระยับอยู่ตลอดเวลาสวยงามมาก การเข้ามาของชาวบ้านในอดีตจะใช้ไต้จุดให้แสงสว่าง เดินปีนป่ายไปตามโขดหิน เพราะไม่มีบันได ด้วยความสวยงดงามของถ้ำนี้ ทำให้มีผู้คนเข้าชมถ้ำมากขึ้น จึงคิดสร้างบันไดด้วยไม้ไผ่มีหลักไม้ไผ่สำหรับจับ ขณะปีนลงจะหันหน้าเข้าหาบันไดปีนลง” หินงอก หินย้อย และแผ่นหินน้ำไหลตลอดจนคูหา ซอกซอยต่าง ๆ ในถ้ำจอมพลนั้น มีชื่อเรียกและมีความหมาย ตามคำบอกเล่าว่า  ” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาส ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๘ นั้น ี่กรมศิลปากรเข้าสำรวจถ้ำและศึกษาเพื่อเตรียมถวายความรู้ การครั้งนี้กรมศิลปากร จึงตั้งชื่อหินงอก หินย้อย ม่านหินย้อยและแผ่นน้ำไหลขึ้น “  ( อัมพร อาศน์สุวรรณ ตุลาคม ๒๕๔๗ )
บริเวณต่างในถ้ำจอมพล
บริเวณ ” ธารศิลา”
บริเวณที่ ๑ ชื่อ “ธารศิลา” เดิมมีน้ำ รอบชายขอบเป็นบริเวณธารน้ำ
เป็นแอ่งสำหรับเก็บน้ำ มีหินงอกรูปร่างต่าง ๆ อยู่รายรอบ
บริเวณ ” จุลคูหา ”
บริเวณที่ ๒ ชื่อ “จุลคูหา” เป็นคูหาเล็ก
อยู่ทางขวามือเดินเข้าไปจะเป็นทางเดินแคบ ๆ
บริเวณ ” พิชิตชล ”
  บริเวณที่ ๓ ชื่อ ” พิชิตชล ” เป็น หินงอกแท่งใหญ่ สูงขึ้นไปบนเพดานถ้ำ และมีแอ่งน้ำ ลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ ส่วนนี้ในอดีตมีน้ำไหลทั้งปี และเมื่อเดินชมให้รอบ ๆ บริเวณ จะเห็น หินงอก หินย้อยอยู่รอบ ๆ ที่หินงอกหินย้อยบริเวณนี้ จะมีน้ำไหลผ่านสวยงามมาก และ การเดินชมสามารถเดินแยกทางซ้าย – ขวา และในที่สุดจะมาพบกันในส่วนนี้ ในสมัย สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จทรงทอดพระเนตรบริเวณนี้อยู่นาน
บริเวณ “ สร้อยระย้า ”
  บริเวณที่ ๔ ชื่อ ” สร้อยระย้า  เป็นหินงอก ห้อยระย้าลงมา จะมีหินสองส่วนที่ห้อยระย้าจากข้างบนลงมาและส่วนที่งอกขึ้นมาจากพื้นถ้ำ  แต่เดิมเมื่อปี พ . ศ . ๒๕๐๔ หินสองส่วนนี้ยังไม่มาจรดกัน  ขณะนี้เห็นการจรดติดกันของหินสองส่วนนี้ แสดงว่ามีน้ำไหลลงมาอยู่ต่อเนื่อง ลักษณะหินที่เห็นจึงเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
บริเวณ ผาวิจิตร
        บริเวณที่ ๕ ชื่อ ” ผาวิจิตร ” เป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีเพดานสูง มีหินงอกย้อยเป็นเหมือนฉากที่สร้างไว้อย่างสวยงาม ที่เพดานมีร่องรอยหลากหลาย ชมแล้วพาเพลิดเพลิน เป็นสถานที่ ที่พักผ่อน ยืนชมความงดงามได้หลายส่วน มองออกไปข้างหน้าจะเห็นลำแสงสว่างที่สาดส่องลงมาจากปล่องถ้ำ เป็นบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เป็นสถานที่ที่สำคัญต่อการจดจำอย่างมาก เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จทรงประทับพักผ่อนอิริยาบถอยู่เป็นเวลานาน เพื่อทรงทอดพระเนตรภายในถ้ำและยังทรงเสวยพระกระยาหารกลางวัน บริเวณ นี้คือบริเวณที่ใช้ในการรับเสด็จจึงมีการจัดบริเวณส่วนพื้นที่นี้ โดยใช้เครื่องของจาก สำนักราชวัง  เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการประดับแสงไฟที่หินงอกของผาวิจิตรอย่างประณีตงดงาม และส่วนของผาวิจิตรนี้เองที่มีการถวายความรู้เรื่องความงดงามของหินผาที่มีริ้วรอยตามรูปร่าง ที่เป็นเสมือนอิทรธนูบนบ่าของนายทหารยศจอมพลในสมัยรัชกาลที่ ๕ และจึงเป็นส่วนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทานนามไว้
บริเวณ ” แส้จามรี ”
บริเวณที่ ๖ ชื่อ ” แส้จามรี ” เป็นหินย้อยแท่งใหญ่ทอดยาวลงมา ลักษณะเป็นริ้วพู่สวยงาม
บริเวณ ประสิทธเทวา
บริเวณ “ ถ้ำมัสยาสถิต
 บริเวณที่ ๗ ชื่อ “ ถ้ำมัสยาสถิต ” เป็น บริเวณแคบ ๆและมีความมืดมากกว่าบริเวณอื่น ๆ เข้าไปจะเห็นหินย้อยลงม และหินย้อยจะมีแอ่งน้ำสมัยก่อนเป็นแอ่งน้ำใสลึก พอสมควร มีปลาซิวแหวกว่ายในแอ่งน้ำนี้ มีชื่อว่า “ ประสิทธเทวา ” ผู้ ที่มาถึงแอ่งน้ำนี้จะนำขวดหรือแก้ว ตักน้ำกลับไป หรือใช้ดื่มกิน เชื่อกันว่าเป็นสิริมงคลในบริเวณใกล้กันนี้ทางขวามือจะเห็นหินย้อยเป็นริ้ว มีพุ่มลงมาชื่อว่า “ เกศาสลวย ”
บริเวณที่” เกศาสลวย “
บริเวณท ”ธารเนรมิต”
  บริเวณที่ ๘ ชื่อ “ ธารเนรมิต ” อยู่บริเวณของปล่องอากาศด้านพระพุทธไสยาสน์ เป็นหินย้อย ส่วนนี้ สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  เสด็จประพาสยังไม่มีชื่อนี้ บริเวณปล่องอากาศเป็นบริเวณที่สว่างที่สุดมี แสงสว่างจากปล่องลงมาเป็นลำแสงงดงาม ลำแสงสวยงามตามระยะเวลาทุกเวลา โดยเฉพาะส่วนที่นักท่องเที่ยวนิยม
ชมชอบ คือ เวลา ๑๔ .oo – ๑๔ . ๓ o น . ลำแสงจะส่องมา เป็นลำแสงแนวเฉียงกระทบกับพื้นหินบริเวณ ถ้ำและกระทบโดนพระพุทธรูปพระพุทธไสยาสน์ยิ่ง
เพิ่มความงดงามของบริเวณปล่องอากาศถ้ำมากขึ้น

บริเวณ บรมอาสน์
บริเวณที่ ๙ ชื่อ “ บรมอาสน์ ” เป็นบริเวณใกล้เคียง
กับพระพุทธไสยาสน์มีหินย้อยเหมือนรูปกระถาง
ลิงกับการเป็นอยู่บริเวณถ้ำจอมพลบริเวณถ้ำจอมพลและบริเวณสวนรุกขชาติ ถ้ำจอมพลเป็นบริเวณที่มีลิงอาศัยอยู่มากมาย นับวันก็เจริญพันธุ์มากขึ้นทุกวัน ความเป็นธรรมชาติ ของลิง ทำให้ผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่มีความรำคาญกับลิง แต่อีกมุมหนึ่งของนักท่องเที่ยวและประชาชนต่างจังหวัด ต่างท้องถิ่นนั้นชอบดูลิงบริเวณหน้าถ้ำจอมพล เนื่องจากมีอิริยาบถที่ฉลาด ในการปรับตัวอยู่กับ คนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวที่มาชมถ้ำจอมพล
คุณค่าทางสังคม
๑ . อดีตถ้ำจอมพลเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดราชบุรี ด้วยพระมหากษัตริย์ หลายพระองค์เสด็จประพาส ทำให้ถ้ำจอมพลเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชาติ จึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวชุมชนจอมบึง
๒ . สวนรุกขชาติบริเวณหน้าถ้ำจอมพลเป็นแหล่งธรรมชาติที่สวยงาม ประชาชนในพื้นที่ใช้บริเวณนี้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่เสมอ
    ๓ . ถ้ำจอมพลและสวนรุกขชาติ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติให้กับสถานศึกษาทั้งของท้องถิ่นและของชาติ ผู้ที่เข้ามาศึกษาจะได้รับความรู้ในเรื่องของธรรมชาติ การเกิดของหินจนกลายเป็นหินงอกหินย้อยที่มีรูปร่างสวยงาม และยังเป็นแหล่งศึกษาถึงสัตว์ต่างๆ ที่มีอยู่ในถ้ำ นอกจากนี้ บริเวณสวนรุกขชาติยังเป็นบริเวณที่มีความร่มรื่น สามารถศึกษาต้นไม้หลากหลายพันธุ์ มีทั้งที่เป็นสมุนไพร ได้แก่ มะกอก ตะคร้อ ต้นเสี้ยน มะเดื่อ ชงโค ก้ามปู มะเกลือ หน่อไม้ มะขามป้อม มะกัก สะเดา มะขามเทศ หางนกยูง ไข่เน่า ตะขบ เล็บเหยี่ยว กล้วยเต่า สมอ มะหาด ฯลฯ ส่วนลิงที่อาศัยอยู่ในบริเวณหน้าถ้ำ เป็นสัตว์ที่โดดเด่นมีสิ่งที่น่าสนใจ ให้ศึกษาได้อย่างดี และนอกจากนี้ยังมีกระรอก กระแต งู ค้างคาว นกที่มีมากกว่า ๕ o ชนิด สามารถศึกษาหาความรู้ได้อย่างมากมาย
๔ . เป็นสถานที่จัดงานประเพณีปิดทองพระพุทธไสยาสน์ถ้ำจอมพลของอำเภอจอมบึง งานนี้ มีประชาชนทั่วไปหลายท้องถิ่นมาร่วมปิดทองในงานนี้ และชมมหรสพที่ทางวัดจัดขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก
  • เวปไซต์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง   http://culture.mcru.ac.th/M_001.html
  • หนังสืออ้างอิง
    พระยาคฑาธรบดี จางวางโท . สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลราชบุรี “ ปากถ้ำจอมพล จังหวัดราชบุรี ,” สมุด ราชบุรี พ . ศ . ๒๔๖๘ พิมพ์ที่         โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย ถนนพลับพลาไชย จังหวัดพระนคร พ . ศ . ๒๔๖๘ .
    สุรินทร์ เหลือลมัย . ตำนานจอมบึงอนุสรณ์ในความทรงจำของชาวจอมบึงที่สืบสาน “ ตำนานจอมบึง ” นานกว่า ๔ ooo ปี .
    อำเภอจอมบึง พ . ศ . ๒๕๔๒ .
    เอกสารอัดสำเนา เทศบาลตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี . “ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถ้ำจอมพล       เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  ” เทศบาลตำบลจอมบึง พ . ศ . ๒๕๔๔
  • ประวัติผู้ให้สัมภาษณ์และให้ข้อมูลเรื่อง “ เล่าเรื่องถ้ำจอมพล ”
    • ประวัติ
      อาจารย์สุรินทร์ เหลือลมัย
      - ปัจจุบันอายุ ๖๗ ปี
      - ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๓๘๕ หมู่ ๓
      ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัด
      ราชบุรี ๗๐๑๕๐ประวัติการทำงาน
      พ . ศ . ๒๕๐๓ หลังจบการศึกษา ได้เป็น
      ครูสอนหนังสืออยู่ในโรงเรียนระดัประถมศึกษา
      ณ อ . จอมบึง จังหวัดราชบุรี
      ี พ . ศ . ๒๕ o ๓ – ๒๕๒๔
      และเป็น อาจารย์ใหญ่โรงเรียน
      ( ชุมชน จอมบึง พ . ศ . ๒๕๒๕ – ๒๕๔๐ )
    • ประวัติอาจารย์อัมพร อาศน์สุวรรณ
      - ปัจจุบันอายุ ๗๙ ปี
      - ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ ๓๙๙ หมู่ ๓
      ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง
      จังหวัดราชบุรี ๗๐๑๕๐ประวัติการทำงาน
      พ . ศ . ๒๕๐๑ หัวหน้าสวนรุกขชาติ ถ้ำ
      จอมพล สังกัดกองบำรุงกรมป่าไม้
      พ . ศ . ๒๕๑๘ ป่าไม้อำเภอจอมบึง
      จังหวัดราชบุรี และปลด เกษียณเมื่อปี พ . ศ . ๒๕๒๙
    • ประวัติ
      นาย บำรุง อาศน์สุวรรณ
      - ปัจจุบันอายุ ๖๕ ปี
      - ที่อยู่ปัจจุบันบ้านเลขที่ ๘๕ หมู่ ๓
      ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง
      จังหวัดราชบุรี ๗๐๑๕๐ประวัติการทำงาน
      ทำงานรับราชการเป็นพนักงานของ
      สวนรุกขชาติถ้ำจอมพล ตั้งแต่
      ปี พ . ศ . ๒๕๑๘ – พ . ศ . ๒๕๔๓
  • http://www.เที่ยวราชบุรี.com/
สถานที่ท่องเที่ยว :