บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ชาวราชบุรีได้พร้อมใจกันสร้างในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 และสร้างเป็นสวนสาธารณะจักรีอนุสรณ์สถาน
ข้อมูลท่องเที่ยวเขาแก่นจันทร์
ที่อยู่ : ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมืองราชบุรี ประมาณ 2 กม
GPS : 13.523492, 99.786404
เิปิดเข้าชม : 07.00-18.00 น. (ทุกวัน)
ค่าเข้าชม : ฟรี
สถานที่จอดรถ : บนยอดเขาแก่นจันทร์ สามารถนำรถส่วนตัวขึ้นไปได้ ยกเว้นรถ 6 ล้อขึ้นไป เพราะทางแคบชันและโค้งหักศอก
ร้านอาหาร : บนยอดเขาแก่นจันทร์ ไม่มีร้านอาหารและน้ำเปิดบริการ
สิ่งอำนวยความสะดวก : ตู้ยาม , ห้องน้ำ , สวนสาธารณะ
Tip : ขับรถขึ้นยอดเขาแก่นจันทร์ ถนนสูงชัน โค้งหักศอกระวังรถสวน ! , บนยอดเขาแก่นจันทร์ ที่นี่ไม่มีลิง(ไม่เหมือนที่เขาที่อื่นในราชบุรี) , ตรงอาคารหอนาฬิกา มีบันได้ขึ้นลงเขา
คลิกดูภาพขยาย
ตำนาน ศาลเจ้าแม่แก่นจันทร์ ตำนาน “เจ้าแม่แก่นจันทร์” เล่ากันมาว่า ท่านเป็นเทพที่สถิตอยู่ในไม้แก่นจันทร์ ซึ่งเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม มีอายุนานนับร้อยปี จึงมีความศักดิ์สิทธิ์มาก โบราณว่าไว้ ต้นไม้ต้นใดที่มีแก่นสูงตั้งแต่ 1 คืบขึ้นไป จะมีวิมานของรุกขเทวดาสถิตอยู่ เพื่อคอยดูแลรักษาผู้ที่มากราบไหว้บูชา และมักจะเรียกชื่อของรุกขเทวดาประจำต้นไม้ตามชื่อของต้นไม้นั้น เช่น ต้นตะเคียนทองก็จะเรียกชื่อรุกขเทวดาว่า “เจ้าพ่อหรือเจ้าแม่ตะเคียนทอง” ดังนั้น “ไม้แก่นจันทร์” จึงมีผู้เลื่อมใสตั้งให้เป็น “เจ้าแม่แก่นจันทร์”
จากตำนานที่เล่ากันต่อๆมา ความว่า เดิมทีเจ้าแม่องค์เดิมเป็นท่อนไม้แก่นจันทร์ แต่ภายหลังมีหญิงสาวไปเข้าฝันชาวบ้านคนหนึ่งบอกว่าไม่อยากอยู่ในสภาพขอนไม้ แบบนี้อีกแล้ว อยากมีรูปร่างเป็นมนุษย์ ครั้งแรกชาวบ้านก็ไม่เชื่อไม่สนใจ เจ้าแม่จึงไปเข้าฝันชาวบ้านอีกหลายๆคน เมื่อฝันประหลาดตรงกันชาวบ้านจึงเริ่มเชื่อและได้ทำการแกะสลักไม้แก่นจันทร์ ให้มีรูปร่างเป็นหญิงสาว
ความเป็นมาของ “เจ้าแม่แก่นจันทร์” ที่ชาวราชบุรีให้ความเคารพศรัทธานิยมมากราบไหว้ขอบารมีคุ้มครองนั้น มีมานานหลายสิบปี ศาลเจ้าแม่แก่นจันทร์ตั้งอยู่ใน อ.เมือง บริเวณใกล้เชิงเขาแก่นจันทร์ ตัวศาลสร้างเป็นแถวยาวชั้นเดียว แต่เดิมศาลเจ้าแม่เป็นศาลไม้เล็กๆ ตั้งตรงข้ามศาลหลังใหม่ที่เห็นในปัจจุบัน
http://www.เที่ยวราชบุรี.com/